Google

Saturday, October 24, 2009

อัตชีวประวัติและผลงานโดยย่อ ของ น.อ.ทองย้อย แสงสินชัย



กำเนิด และชีวิตในร่มเงาพระพุทธศาสนา
(รายละเอียด พื้นเพ  การศึกษา  บรรพชาอุปสมบท  ลาสิกขา  ทำงาน  ครอบครัว)

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย  เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน  พ..๒๔๘๘ ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๗ ปีระกา ที่ตำบลป่าไก่ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี บิดาชื่อนายอิน เป็นชาวปากท่อ มารดาชื่อนาง เหมิด เป็นชาวบ้านทาน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี  นางเหมิดเป็นภรรยาคนที่ ๒ ของนายอิน สมรสกันหลังจากภรรยาคนแรกของนายอินถึงแก่กรรมแล้ว  มีบุตรธิดา ๕ คน คือ
            . ชาย             ชื่อ        เบิ้ม
            . หญิง           ชื่อ        ทองหยิบ
            . ชาย            ชื่อ        สมจิตต์
            . หญิง           ชื่อ        ทองหยด
            . ชาย           ชื่อ        ทองย้อย
เมื่ออายุประมาณ ๘ ขวบ  ไปอยู่วัดหนองกระทุ่ม  อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี เนื่องจากพี่ชายคนโตบวชอยู่ที่นั่น  แล้วเข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนวัดหนองกระทุ่ม นาย คง  บุญหล่ำ  (ปรีดางกูร) เป็นครูใหญ่   ครูที่เคยสอนระหว่างเรียนอยู่ที่นี่  คือ   ครู เที่ยง  บุญมาก    ครู ฝอย     ทองก้อน   ครู เชื้อ  เทพประทิตย์     ครู พรม  เทพทิตย์   ครู จำเนียรสุข (แก้ว) เพ็งพงศ์  แต่ครูที่สอนมากกว่าคนอื่นคือครูเที่ยง บุญมาก เรียนจบชั้นประถมปีที่๔ เมื่อ พ..๒๔๙๙ 
ระหว่างเป็นเด็กวัด   ลูกชายคนเล็กของนาย อิน  นาง จัน  ช้างเพ็ชร   ชื่อ สนั่น  อยู่บ้านรางโบสถ์ ตำบลดอนทราย  อำเภอปากท่อ มาบวชอยู่ที่วัดหนองกระทุ่ม จึงได้เป็นเด็กเดินปิ่นโตที่บ้านของพระสนั่น (สมัยนั้น พระไปบิณฑบาต จะมีคนใส่บาตรเฉพาะข้าวสุก  ส่วนกับข้าวนั้นบ้านของพระแต่ละรูปจะทำไปส่ง โดยให้เด็กวัดนำปิ่นโตจากวัดไปใส่กับข้าวที่บ้านทุกเช้า การที่เด็กวัดเอาปิ่นโตไปที่บ้านของพระ ทางบ้านใส่กับข้าว เสร็จแล้วนำกลับวัด  นี้เรียกกันว่า  เดินปิ่นโต”)
ครั้นถึง พ..๒๕๐๑ พระสนั่นลาสิกขา ได้ชวนไปอยู่ที่บ้านรางโบสถ์ด้วยกัน (ตอนนั้นบิดามารดาถึงแก่กรรมหมดแล้ว   พี่ๆ  ก็แยกย้ายกันไปคนละทิศละทาง) พี่ชายคนโตซึ่งยังบวชอยู่ก็อนุญาตให้ไปอยู่กับนายอิน นางจัน ที่บ้านรางโบสถ์ได้
นายอิน นางจัน มีเมตตารักใคร่เสมือนเป็นลูกอีกคนหนึ่ง ได้ออกปากยกนาให้แปลงหนึ่งเพื่อทำมาหากินต่อไป
แรก ๆ ที่ไปอยู่บ้านรางโบสถ์ ทำหน้าที่เป็นเด็กเลี้ยงวัวโดยมาก    ต่อมาเมื่อโตขึ้นก็ช่วยทำนา จนสามารถไถนา  เกี่ยวข้าว ทำอะไร ๆ ได้ทุกขั้นตอนของการทำนา จนกระทั่ง พ..๒๕๐๔ อายุ ๑๖ ปี ปรารภกับนายอิน  นางจัน  ว่า อยากจะบวชเป็นสามเณร ทั้งสองท่านก็อนุโมทนา จัดการบวชให้ที่วัดหนองกระทุ่ม โดยมี พระครูขันตยาภิรัต (หลวงพ่อป๋อง)   เป็นพระอุปัชฌาย์
ระยะนั้น พระอาจารย์ทองดี เจ้าอาวาส วัดไพรสะเดา อำเภอปากท่อ ซึ่งเป็นญาติกับนายอิน ช้างเพชร   ย้ายจากวัดไพรสะเดาไปอยู่ที่ถ้ำเขาพลอง  ซึ่งอยู่ข้าง เขาช้าง ในเขตตำบลหนองกระทุ่ม และอยู่รูปเดียว  นายอินจึงแนะให้ไปอยู่กับพระอาจารย์ทองดี เพื่อจะได้ช่วยอุปัฏฐากดูแลท่านด้วย เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้วจึงขออนุญาตหลวงพ่อป๋องไปอยู่กับพระอาจารย์ทองดี
พระอาจารย์ทองดีรูปนี้ สมัยเป็นฆราวาสดูเหมือนจะมีชื่อในทางนักเลงหน่อย ๆ เมื่อบวชพระ ก็บวชอยู่ที่วัดหนองกระทุ่ม ต่อมาเจ้าอาวาสวัดไพรสะเดาว่างลง ชาวบ้านที่นั่นจึงมาขอต่อหลวงพ่อป๋องเพื่อให้ท่านไปเป็นเจ้าอาวาสวัดไพรสะเดา พระอาจารย์ทองดีรูปนี้มีความรู้ทางวิชาคาถาอาคม มีความสามารถรักษากระดูกหักโดยใช้น้ำมันมะพร้าวที่เคี่ยวเองผสมสมุนไพร  และมีฝีมือในทางจักสานเป็นพิเศษด้วย  วิชาเหล่านี้ท่านได้ถ่ายทอดให้ระหว่างที่อยู่กับท่านที่ถ้ำเขาพลอง (เดี๋ยวนี้ลืมหมดแล้ว)
ระหว่างปี พ..๒๕๐๔ - ๒๕๐๕ ที่อยู่กับพระอาจารย์ทองดีที่เขาพลองนั้น   ได้เรียนนักธรรมชั้นตรี ชั้นโท โดยเรียนด้วยตนเองบ้าง  เดินไปเรียนที่ วัดโพธิ์ศรี ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ  นั้นกับ พระอธิการยวง บ้าง  พระอาจารย์ทองดีขอให้นาย เพียร เพชรนิธิ เปรียญ ๔ ประโยค ซึ่งเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนเขาพลองมาช่วยสอนให้บ้าง จนสอบนักธรรมชั้นโทได้ในปี พ..๒๕๐๕
ครั้นปลายปี พ..๒๕๐๕ ได้ทราบจากคำบอกเล่าของนายเพียร  เพชรนิธิ ว่า  ท่านเจ้าคุณวัดมหาธาตุราชบุรี   อยากจะได้สามเณรจากวัดต่าง ๆ เข้าไปอยู่ที่วัดมหาธาตุ  เพื่อจะให้เรียนบาลี   ก็มีความคิดอยากจะเรียนบาลีกับเขาบ้าง   จึงขอลาพระอาจารย์ทองดีเข้าไปอยู่ที่วัดมหาธาตุ ราชบุรี วันที่ย้ายจากเขาพลองไปอยู่วัดมหาธาตุ ราชบุรี   คือวันที่ ๓๑  ธันวาคม  พ..๒๕๐๕
เมื่อเข้าไปฝากตัวกับ  ท่านเจ้าคุณ”  ในวันที่ ๓๑ ธันวาคมนั้น   ท่านถามว่า  อายุเท่าไร   ตอบท่านว่า  ๑๘ ครับ    ท่านปรารภลอย ๆ ว่า  เอ มันจะเรียนทันเขาหรือหว่า (ทำนองว่า มาเรียนช้าไป เพราะคนอื่น ๆ เขาเริ่มเรียนกันไปแล้ว  หรืออาจจะหมายความว่า  อายุมากไปหน่อย ถ้า ๑๒ - ๑๓ ก็จะดี  เรียนตั้งแต่อายุน้อย ๆ หัวกำลังแล่น)   “ท่านเจ้าคุณ”  มอบหมายให้ พระเชื้อ ธีรปญฺโญ  เป็นผู้ปกครอง  (พระเชื้อรูปนี้ต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่ พระครูธีรญาณประยุต  และย้ายไปเป็นเจ้าอาวาส วัดใหญ่อ่างทอง   อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี)
เมื่อเริ่มเรียนบาลีไวยากรณ์นั้น มีนักเรียนชั้นเดียวกัน ๙ รูป พระมหาถวิล.. ๓ เป็นครูสอน เรียนไปเรียนมา  เหลือสามเณรทองย้อยรูปเดียว รูปอื่น ๆ ล้า และรามือไปหมด เมื่อขึ้นแปลพระธรรมบทนั้น  พระมหาดำรงค์  ครุฑหิรัญ  ..   เป็นครูสอน

                                    ปี พ.ศ.๒๕๐๖  ที่เริ่มเรียนบาลีนั้น  สอบนักธรรมชั้นเอกได้

            ปี พ..๒๕๐๘ เข้าสอบประโยค ป.. ๓ และอายุครบ ๒๐ พี่ชายคนโตซึ่งตอนนี้ลาสิกขาไปมีครอบครัวแล้ว มีดำริว่าจะเป็นเจ้าภาพบวชพระให้  จึงตกลงอุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ..๒๕๐๘ ณ วัดหนองกระทุ่ม อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี โดยมี พระศรีธีรพงศ์ (ช้อย ป.. เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ ราชบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์  พระอธิการพรหม ปหฏฺโฐ (ต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูรัตนสุทธิคุณ) เจ้าอาวาส วัดสนามสุทธาวาส (เขาหลักไก่) อำเภอปากท่อ เป็นพระกรรมวาจาจารย์  พระครูบวรธรรมสมาจาร (สุชาติ ป.. )   วัดมหาธาตุ ราชบุรี  เป็นพระอนุสาวนาจารย์   ได้ฉายาอันเป็นมงคลนามว่า  วรกวินฺโท
เมื่อประกาศผลสอบบาลี ประจำปีการศึกษา  ๒๕๐๘  ออกมา    ปรากฏว่า สามเณรทองย้อยสอบประโยค ป.ธ.๓ ได้   จึงได้เป็น  “พระมหาทองย้อย”   ตั้งแต่บัดนั้นมา
เมื่อเริ่มเรียนชั้น ป..๔ และ ป..๕ นั้น  พระราชวิสุทธิโสภณ (ช้อย..) เป็นครูสอน  สถานที่เรียนในสมัยนั้นคือชานชาลาหน้าพระอุโบสถ
ปี พ..๒๕๑๑  สอบประโยค ป..๖ ได้  เข้ารับพระราชทานประกาศนียบัตรพัดยศ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  โดยในศกนั้น  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินในพระราชพิธีทรงตั้งพระเปรียญด้วยพระองค์เอง
ปี พ..๒๕๑๒ สอบประโยค ป..๗ ได้  พระราชวิสุทธิโสภณผู้เป็นทั้งพระอุปัชฌาย์และพระอุเทศาจารย์ ดำริว่า  จะขึ้นสอบประโยค ป..๘ นั้น  ถ้าให้เรียนด้วยตนเองอยู่ที่วัดคงจะไม่เพียงพอ   จึงนำไปฝาก   พระธรรมปัญญาบดี (ฟื้น ชุตินฺธโร..๙  ต่อมาได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์) วัดสามพระยา  กรุงเทพ ฯ ให้อยู่เรียนประโยค ป..๘ ที่วัดสามพระยา
                        ปี พ..๒๕๑๓ สอบประโยค ป..๘ ได้ จึงอยู่เรียนประโยค ป..๙ ที่วัดสามพระยาต่อไป
สมัยที่เรียนประโยค ป..๘ และ ป..๙ ที่วัดสามพระยานั้น ท่านอาจารย์ นาวาอากาศเอก แย้ม ประพัฒน์ทอง ..๙  เป็นครูสอนวิชาแต่งฉันท์ประโยค ป..๘  หลวงพ่อพระธรรมปัญญาบดี สอนวิชาแต่งไทยประโยค ป..๙   พระราชวิสุทธิเวที (บุญมา..๙ ขณะนี้ (..๒๕๔๒) ดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นหิรัณยบัฎ ที่ พระธรรมวโรดม) วัดเบญจมบพิตร เป็นครูสอนวิชาแปลไทยเป็นมคธ  อาจารย์ วิเชียร บำรุงผล     ป..๙ เป็นครูสอนวิชาแปลมคธเป็นไทย  (แปลพระอภิธัมมัตถวิภาวินี)
ปี พ..๒๕๑๔ สอบประโยค ป..ตก จึงกลับวัดมหาธาตุ ราชบุรี หลังจากไปอยู่วัดสามพระยาได้ ๒ พรรษา
ปี พ..๒๕๑๕ สอบประโยค ป..๙ ได้   มีผู้สอบได้ในปีเดียวกันนี้ทั้งหมด ๑๘ รูป    ตามรายชื่อที่แม่กองบาลีสนามหลวงประกาศ มีดังนี้
พระมหานรินทร์  ภทฺทวํโส   พุ่มสงวน  วัดเวฬุราชิณ   กทม.
. พระมหาศิลา  สิทฺธิธฺมโม  อุทา  วัดนรนาถ ฯ   กทม.
. พระมหาจุนท์  พฺรหฺมคุตฺโต  พราหมณ์พิทักษ์  วัดบวรนิเวศ   กทม.
. พระครูปลัดกิตติวัฒน์ (ศรีมิตฺตธมฺโม   แนวณรงค์  วัดเบญจมบพิตร   กทม.
. พระมหาน้อม  ถิรจิตฺโต   พูลนวล  วัดเบญจมบพิตร   กทม.
. พระมหาจำนงค์  วรวฑฺฒโน   จันทร์ขาว วัดพระพิเรนทร์    กทม.
. พระมหาเพิ่ม  ธมฺมกาโม   สุคตะ   วัดมหาธาตุ    กทม.
. พระมหาอำนวย  อุตฺตโม  สุขุมานนท์  วัดพระยาทำ   กทม.
พระมหาทองดี  สุรเตโช   สุรเดช   วัดปากน้ำ   กทม.
๑๐. พระมหาสมพร   สุชีโว   กุหลาบ   วัดอนงคาราม   กทม.
๑๑. พระมหาสำเนียง   ยสินฺธโร   เมืองนิล   วัดอรุณราชวราราม   กทม.
๑๒. พระมหาชัยวัฒน์   ชยวฑฺฒโน   แซ่กอ  วัดราชสิทธาราม   กทม.
๑๓. พระมหาสมศักดิ์  อุปสโม   ชูมาลัยวงศ์    วัดพนัญเชิง   อยุธยา
๑๔. พระมหาสมเกียรติ   กิตฺติวฑฺฒโน   คงจตุรพร  วัดมงคลทับคล้อ   พิจิตร
๑๕. พระมหาชัยวัฒน์  ปญฺญาสิริ   พราหมณ์อนงค์    วัดพระปฐมเจดีย์   นครปฐม
๑๖. พระมหาเชฏฐา   ฉินฺนาลโย   ผาสุก   วัดสุวรรณภูมิ   สุวรรณบุรี
๑๗. พระมหาทองย้อย  วรกวินฺโท   แสงสินชัย   วัดมหาธาตุ  ราชบุรี
๑๘. พระมหาบุญชัย  มหาวีโร   ช่วยบุญสุข   วัดขันเงิน  ชุมพร
เมื่อนับตามลำดับปีที่มีการสอบด้วยข้อเขียน  ก็เป็นรุ่นที่ ๔๔ (44) และนับเรียงลำดับ  เป็นรูปที่ ๒๐๗ (207)

สรุปลำดับการศึกษาทางธรรม มีดังนี้
..๒๕๐๔  สอบนักธรรมชั้นตรีได้   สำนักเรียนวัดหนองกระทุ่ม
..๒๕๐๕  สอบนักธรรมชั้นโทได้   สำนักเรียนวัดหนองกระทุ่ม
..๒๕๐๖   สอบนักธรรมชั้นเอกได้  สำนักเรียนวัดมหาธาตุ ราชบุรี
..๒๕๐๘   สอบประโยค ป..๓ ได้  สำนักเรียนวัดมหาธาตุ ราชบุรี
..๒๕๐๙   สอบประโยค ป..๔ ได้
..๒๕๑๐   สอบประโยค ป..๕ ได้
..๒๕๑๑   สอบประโยค ป..๖ ได้
..๒๕๑๒   สอบประโยค ป..๗ ได้
..๒๕๑๓   สอบประโยค ป..๘ ได้
..๒๕๑๔   สอบประโยค ป..ตก

พ.ศ.๒๕๑๕   สอบประโยค ป.ธ.๙ ได้

ทุกประโยค   สอบในนามสำนักเรียนวัดมหาธาตุ ราชบุรี

การศึกษาทางโลก
ปี พ..๒๕๑๖  เดินทางไปศึกษาระดับปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยมคธ รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย โดยศึกษาสาขาประวัติศาสตร์  หลักสูตร ๒ ปี   เมื่อเรียนไปได้ปีกว่าๆ ก็เกิดเหตุไม่สงบขึ้นในมหาวิทยาลัย ทางการสั่งให้ปิดการศึกษาโดยไม่มีกำหนดเปิด จึงตัดสินใจเดินทางกลับ (เมื่อกลับมาเมืองไทยได้ราวๆ ๒-๓ เดือน ก็เปิดการศึกษาได้ตามปกติ  แต่ตอนนั้นหมดความตั้งใจที่จะศึกษาต่อเสียแล้ว)
ปี ๒๕๒๖ สมัครเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขารัฐศาสตร์ แขนงวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การเมืองการปกครองเปรียบเทียบ เป็นรุ่นแรกของสาขานี้ สำเร็จการศึกษาเมื่อ พ..๒๕๓๐
วันที่ ๒๓  ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๗  ลาสิกขา ที่วัดหนองกระทุ่ม  อำเภอปากท่อ  เข้าทำงานเป็นนักวิชาการ ที่ มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ  เพื่อการค้นคว้าทางพระพุทธศาสนา   สำนักงานตั้งอยู่ในบริเวณวัดสระเกศ   กทม.

วันที่ ๘ สิงหาคม  พ.ศ.๒๕๑๘   สมรสกับนางสาวสุดใจ  อินทศิริ   อาจารย์วิทยาลัยเทคนิคราชบุรี

                                    วันที่ ๑๗ เมษายน  พ..๒๕๒๐ ลูกคนแรกเกิด  เป็นหญิง  ให้ชื่อว่า  พรกวินทร์
            วันที่ ๑ กุมภาพันธ์  พ..๒๕๒๑  เข้ารับราชการเป็นนักภาษาโบราณ  กองหอสมุดแห่งชาติ  กรมศิลปากร
                                    วันที่ ๔ กุมภาพันธ์  พ..๒๕๒๓  ลูกคนที่ ๒ เกิด  เป็นชาย  ให้ชื่อว่า ศิลปกร
วันที่ ๑ มิถุนายน  พ..๒๕๒๔  เข้ารับราชการเป็นอนุศาสนาจารย์ กองทัพเรือ
วันที่ ๒๑  พฤศจิกายน  พ..๒๕๒๔  ลูกคนที่ ๓ เกิด  เป็นชาย  ให้ชื่อว่า อนุสรนาวี





สรุปข้อมุลประวัติชีวิต


เกิด              ๒๐  มิถุนายน  พ..๒๔๘๘
ภูมิลำเนาเดิม ตำบลป่าไก่  อำเภอปากท่อ  จังหวัดราชบุรี
บรรพชา        วัดหนองกระทุ่ม  อำเภอปากท่อ  จังหวัดราชบุรี ..๒๕๐๔
อุปสมบท     วัดมหาธาตุ  จังหวัดราชบุรี  ..๒๕๐๘
ลาสิกขา        พ..๒๕๑๗

การศึกษา
- ประถมศึกษาปีที่ ๔ (ปี ๒๔๙๙ โรงเรียนวัดหนองกระทุ่ม อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี)
- เปรียญธรรม ๙ ประโยค (ปี ๒๕๑๕ สำนักเรียนวัดมหาธาตุ จังหวัดราชบุรี)
- รัฐศาสตรบัณฑิต (ปี ๒๕๓๐ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)

การทำงาน  
- เป็นนักวิชาการ มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ เพื่อการค้นคว้าทางพระพุทธศาสนา ระหว่างปี ๒๕๑๗ - ๒๕๒๐
- รับราชการที่หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ในตำแหน่งนักภาษาโบราณ  ระหว่างปี ๒๕๒๐ - ๒๕๒๔
- รับราชการในกองทัพเรือ ตั้งแต่ปี ๒๕๒๔  ดำรงตำแหน่งต่างๆ ดังนี้
- ตำแหน่งในกองอนุศาสนาจารย์ ตั้งแต่เข้ารับราชการ หมุนเวียนหลายตำแหน่ง เช่น หัวหน้าแผนกอบรมศีลธรรม, หัวหน้าแผนกวิชาการ เป็นต้น
- อนุศาสนาจารย์ กองบังคับการ  กรมทหารราบที่ ๓ รักษาพระองค์  กรมนาวิกโยธิน (ชื่อหน่วยในขณะนั้นค่ายจุฬาภรณ์  จังหวัดนราธิวาส  ระหว่าง  พ..๒๕๒๙ ๒๕๓๑
- อนุศาสนาจารย์โรงเรียนนายเรือ  ระหว่าง พ..๒๕๓๔ ๒๕๓๖
- อนุศาสนาจารย์อาวุโส กองอนุศาสนาจารย์  กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ระหว่าง พ..๒๕๔๐ - ๒๕๔๒
- ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ กองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ  ตั้งแต่   ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ กองอนุศาสนาจารย์ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ  ตั้งแต่   ๑ ตุลาคม ๒๕๔๖
เกษียณอายุราชการ - ๑ ตุลาคม ๒๕๔๘

ผลงาน
หนังสือ
. บรรพชาปวัตน์คำกลอน  บทกลอนชนะเลิศรางวัลเคนเนดีทางวรรณคดี  ของมูลนิธิ  จอห์น เอฟ. เคนเนดี แห่งประเทศไทย ประจำปี พ..๒๕๑๕
. คัมภีร์จักกวาฬทีปนี (ตรวจชำระ, ค้นหาที่มาภาคภาษาบาลี และตรวจชำระคำแปล) ระหว่างรับราชการที่หอสมุดแห่งชาติ ปี ๒๕๒๐ - ๒๕๒๔
. สุภาษิตชาดก  รวบรวมพิมพ์ครั้งแรก ในงานสมโภชสุพรรณบัฎ สมเด็จพระธีร-ญาณมุนี (สนิธ ป..) วัดปทุมคงคา  พ..๒๕๓๒   พิมพ์ครั้งที่ ๓ พ..๒๕๔๐ เปลี่ยนชื่อเป็น  สุภาษิตชาดก ๑๐๐ บท  
. คำทำนายฝันครั้งประวัติศาสตร์   พิมพ์ครั้งแรก  พ..๒๕๓๒  ต่อมาพิมพ์ครั้งที่ ๒ เมื่อ พ..๒๕๔๐ เปลี่ยนชื่อเป็น พุทธทำนายโลก
. วิเคราะห์ ว.ชัยภัค กรณีวิเคราะห์พระเทพเวที กรณีโพธิรักษ์  พิมพ์เมื่อ พ..๒๕๓๓
. ลำนำลำน้ำแควน้อย  เขียนเมื่อ พ..๒๕๑๓ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ..๒๕๓๔
                                    . พุทธชัยมงคลคาถา (คาถาพาหุง)   พิมพ์ครั้งแรก พ..๒๕๓๕
                                    . โคลงโลกนิติ ฉบับถอดความ   พิมพ์ครั้งแรก พ..๒๕๓๗
. ประชุมโคลงโลกนิติ ฉบับรวบรวมเรียบเรียงใหม่  พิมพ์ครั้งแรก พ..๒๕๔๐
๑๐. สวดมนต์ฉบับอุบาสกอุบาสิกา วัดมหาธาตุ ราชบุรี (รวบรวม เรียบเรียง) ..๒๕๔๑
                                    ๑๑. ถวายสังฆทานให้ถูกวิธี  พิมพ์ครั้งแรก พ..๒๕๔๒
                                    ๑๒. ความจริงในมหาปรินิพพานสูตร (กรณีพระมโน) พิมพ์ครั้งแรก พ..๒๕๔๓
                                    ๑๓. ความรู้เรื่องกฐิน  พิมพ์ครั้งแรก พ..๒๕๔๓
                                    ๑๔. เปิดหน้ากากธรรมกาย  ลากไส้ ดร.เบญจ์  พิมพ์ครั้งแรก พ..๒๕๔๔
๑๕. ไขปริศนาปัญหาภิกษุณี  พิมพ์ครั้งแรก พ..๒๕๔๔
๑๖. เหตุเกิด พ..๒๕๔๕ (ตอบชี้แจงหนังสือ เหตุเกิด พ.. ของพระมโน
เมตฺตานนฺโท) พิมพ์ครั้งแรก พ..๒๕๔๗
๑๗. ข้อคิดคำนึงถึงเรื่องไปปฏิบัติธรรม  พิมพ์เผยแพร่เป็นธรรมทาน พ.ศ.๒๕๕๐
๑๘. อานุภาพแห่งความตาย  พิมพ์เผยแพร่เป็นธรรมทาน พ.ศ.๒๕๕๒
๑๙. กาลามสูตร : ฟังไม่ได้ศัพท์จับไปกระเดียด (ตอบชี้แจงบทความของ สุจิตต์ วงษ์เทศใน มติชน)  พิมพ์เผยแพร่เป็นธรรมทาน พ.ศ.๒๕๕๓
๒๐. วิเคราะห์ ทฤษฎีว่าด้วยการอ่านพระไตรปิฎกและอรรถกถา (ฉบับทดลองนำเสนอ) (ตอบชี้แจงบทความของศาสตราจารย์ ดร. สมภาร พรมทา เรื่อง ทฤษฎีว่าด้วยการอ่านพระไตรปิฎกและอรรถกถา (ฉบับทดลองนำเสนอ) ในวารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)  พิมพ์เผยแพร่เป็นธรรมทาน พ.ศ.๒๕๕๓
๒๑. เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ  เมื่อคนรุงรังเข้ามาทำให้รกมงคลสูตร (ตอบชี้แจงบทความของ เมตฺตานนฺโท ภิกฺขุ เรื่อง  มงคลสูตรมีมงคลกี่มงคล ในวารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)  พิมพ์เผยแพร่เป็นธรรมทาน พ.ศ.๒๕๕๓
๒๒. ทศบารมี วิถีสู่พุทธภูมิ แปลและเรียบเรียงจากคัมภีร์ ปรมัตถทีปนี อรรถกถาจริยาปิฎก  พิมพ์เผยแพร่เป็นวิชาทาน พ.ศ.๒๕๕๓

บทความ
๑. บทความวิชาการเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ใน นาวิกศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ..๒๕๒๔ เป็นต้นมา ประมาณ ๕๐ เรื่อง
๒. บทความประจำคอลัมน์ ธรรมะใต้ธรรมาสน์ ในหนังสือพิมพ์เดลิมิเลอร์
ปี ๒๕๓๔
บทกลอน

. ไหว้พระบรมสารีริกธาตุ วัดมหาธาตุราชบุรี (แต่งเป็นคำฉันท์ภาษาบาลีและแปลเป็นไทย) ..๒๕๔๑
                                    . บทกรวดน้ำโบราณ  (กาพย์สุรางคนางค์) แต่งซ่อมของเก่า พ..๒๕๔๑
. คำบูชาพระมงคลบุรี วัดมหาธาตุ ราชบุรี (แต่งเป็นคำฉันท์ภาษาบาลีและแปลเป็นกาพย์สุรางคนางค์) ..๒๕๔๑
                                    . พระอาการ ๓๒  (กาพย์สุรางคนางค์) แต่งซ่อมของเก่า พ..๒๕๔๑
. คำกลอนเซียมซี  ฉบับวัดมหาธาตุ ราชบุรี (๓๘ ใบ) ..๒๕๔๒
. เพลงฉ่อยนำชมเมืองราชบุรี  แต่งเมื่อ พ..๒๕๓๕ (ยังไม่ได้พิมพ์เผยแพร่)
. บทกลอน ใน นาวิกศาสตร์ นิตยสารรายเดือนของกองทัพเรือ ตั้งแต่ปี พ..๒๕๒๔ เป็นต้นมา ประมาณ ๑๒๐ สำนวน
. บทกลอนอาศิรวาท  บทกลอนวันที่ระลึกต่างๆ  บทกลอนอวยพร บทกลอนไว้อาลัย  ตามที่มีผู้ร้องขอเป็นจำนวนมาก (ผลงานเหล่านี้ยังไม่ได้รวบรวม)

บทเพลง

บทเพลงที่มีผู้ขอให้แต่ง  มีทั้งเนื้อเพลงที่นำไปขับร้องเพลงไทยเดิม เนื้อและทำนองเพลงประจำโรงเรียน  (เช่น โรงเรียนสัตหีบวิทยาคม, โรงเรียนจ่าพยาบาลเพลงประจำหน่วยทหาร  (เช่น มาร์ชกรมสรรพาวุธทหารเรือมาร์ชกรมอู่,   มาร์ชกรมทหารราบที่ ๓  นย.),เพลงประกวดสำหรับวงดนตรีโรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์ จังหวัดสุโขทัย

กาพย์เห่เรือ

กาพย์เห่เรือสำคัญ

. กาพย์เห่เรือกาญจนาภิเษก  พ..๒๕๓๙ (กองทัพเรือสร้างเรือพระที่นั่ง       นารายณ์ทรงสุบรรณรัชกาลที่ ๙  ธนาคารไทยพาณิชย์จัดประกวดกาพย์เห่เรือ ชมเรือลำนี้ และสรรเสริญพระบารมี  ได้รับรางวัลชนะเลิศ และได้แต่งเพิ่มอีก ๔ บท  รวมเป็น ๕ บท   ใช้เห่ในวาระที่กองทัพเรือจัดกระบวนพยุหยาตราชลมารค เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ ๗ พฤศจิกายน พ..๒๕๓๙)
. กาพย์เห่เรือเฉลิมพระเกียรติ ใช้เห่ในวาระที่กองทัพเรือจัดกระบวนพยุหยาตรา-ชลมารค เนื่องในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒  พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อ
วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๒
. กาพย์เห่เรือเอเปค  ใช้เห่ในวาระที่กองทัพเรือได้รับมอบหมายให้จัดแสดงกระบวนพยุหยาตราชลมารค ใน ๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๖  ในโอกาสที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมผู้นำเอเปค  (กาพย์เห่เรือที่แต่งในงานนี้มี ๒ บท คือ ชมเรือกระบวน และ ชมเมือง)
. กาพย์เห่เรือฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ใช้เห่ในวาระที่กองทัพเรือได้รับมอบหมายให้เชิญขบวนเรือพระราชพิธี(จัดแสดงกระบวนพยุหยาตราชลมารค) ใน ๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร พร้อมด้วยพระราชอาคันตุกะจากประเทศต่างๆ  ณ  ราชนาวิกสภา
. กาพย์เห่เรือเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ใช้เห่ในพระราชพิธีเสด็จ
พระราชดำเนินทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค ประจำปี ๒๕๕๐ วันจันทร์ที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
. กาพย์เห่เรือเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ใช้เห่ในพระราชพิธีเสด็จ
พระราชดำเนินทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค ประจำปี ๒๕๕๔ (ประมาณปลายเดือนตุลาคม ๒๕๕๔)


กาพย์เห่เรือเบ็ดเตล็ด
(แต่งตามคำขอของหน่วยงานและบุคคลต่างๆ)
. กาพย์เห่เรือเมืองราชบุรี  แต่งตามคำขอของกรมการทหารช่าง ราชบุรี ๑๕ กันยายน ๒๕๔๘
. กาพย์เห่เรือเทิดพระเกียรติ พลเรือเอก  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์องค์บิดาทหารเรือไทย  ๑๖ มกราคม ๒๕๔๙
. กาพย์เห่เรือตระกูลระหงษ์  ๒ มีนาคม ๒๕๔๙
. กาพย์เห่เรือเฉลิมพระเกียรติการกีฬา  ๕ กันยายน ๒๕๔๙
. กาพย์เห่เรือสัปดาห์กีฬานาวี  ๒๕ กันยายน ๒๕๔๙
. กาพย์เห่เรือชักพระ  แต่งถวายวัดนางชีสำหรับใช้เห่ในงานประเพณีชักพระ (งานแห่และสมโภชพระบรมสารีริกธาตุ) ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๙
. กาพย์เห่รถ  เห่ประกอบขบวนรถเคลื่อนเข้าสนาม สัปดาห์กีฬานาวี สัตหีบ ๒๕๕๐
. กาพย์เห่เรือชมเมืองราชบุรี  ใช้เห่ในงานมหกรรมวัฒนธรรมภาคกลาง ๑๖ จังหวัด
จัดที่จังหวัดราชบุรี ในระหว่าวันที่ ๑ - ๓ ธันวาคม ๒๕๔๙ เห่ก่อนแข่งเรือยาว ใน ๓ ธันวาคม ๒๕๔๙
๙. กาพย์เห่เรือ ชักพระวัดแค  แต่งถวายวัดแค จังหวัดสุพรรณบุรี ใช้เห่ในงานชักพระและสมโภชพระบรมสารีริกธาตุ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓

เกียรติคุณ

- ได้รับรางวัลที่ ๒ ในการแต่งเพลงวันครูเข้าประกวด ซึ่งคุรุสภาเป็นผู้จัด เมื่อ พ..๒๕๔๑ ชื่อเพลง เทียนส่องฟ้า  (นาวาเอก ณัฐ รัชกุล กองดุริยางค์ทหารเรือ แต่งทำนอง)
- ได้รับการประกาศเกียรติคุณจากอำเภอปากท่อ ให้เป็น  บุคคลเกียรติยศ สร้างชื่อเสียงให้อำเภอปากท่อ  ในโอกาสฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี การก่อตั้งอำเภอ     ปากท่อ พ.ศ.๒๕๔๒
- ได้รับพระราชทาน รางวัลเสาเสมาธรรมจักร ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประเภทส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนา สาขาการแต่งหนังสือทางพระพุทธศาสนา ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๓
- ได้รับโล่เชิดชูเกียรติจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เป็น ศิลปินดีเด่นจังหวัดราชบุรี สาขาวรรณศิลป์ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๕
- ได้รับการประกาศนามจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เป็น ศิลปินร่วมสมัยดีเด่นจังหวัดราชบุรี  สาขาวรรณศิลป์ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๘
- ได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้ได้รับรางวัล บทความดีเด่นรางวัลพลเรือเอก กวีสิงหะ ประจำปี ๒๕๔๘  ในฐานะผู้เขียนบทความเรื่อง การบริหารงานด้วยระบบสามัคคีธรรมลงพิมพ์ในนิตยสาร นาวิกศาสตร์ ฉบับประจำเดือนเมษายน ๒๕๔๘
- ได้รับโล่ พ่อดีเด่น ของเทศบาลเมืองราชบุรี  ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๔๘
- ได้รับการประกาศเชิดชูเกียรติเป็น  ต้นแบบคนดี ๖๐ ปีในหลวง จังหวัดราชบุรี  โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เมื่อ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๔๙
- ได้รับแต่งตั้งให้เป็น อนุกรรมาธิการกฎหมายเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในคณะกรรมาธิการการศาสนา จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
เมื่อ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
- ได้รับปริญญา ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิยาลัย เมื่อ ๒๐ พฤษภาคม๒๕๕๐
- ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณ ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ด้านศาสนา เมื่อ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๐
- ได้รับพระราชทาน รางวัลที่ ๓ ในการแต่งหนังสือสอนพระพุทธศาสนาแก่เด็ก ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๐ เรื่อง พระรัตนตรัย
- ได้รับการประกาศเชิดชูเกียรติเป็น บุคคลดีเด่นเกียรติยศนาวี ปี ๒๕๕๑ สาขาการพัฒนาสังคม จากกองทัพเรือ เมื่อ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
- ได้รับยกย่องให้เป็น กวีร่วมสมัยดีเด่น ปี ๒๕๕๑ จากมูลนิธิ ๕ ธันวามหาราช และสมาคมกวีร่วมสมัย เมื่อ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ได้รับการประกาศเชิดชูเกียรติเป็น ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๒ จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒
- ได้รับการประกาศเชิดชูเกียรติในฐานะ ผู้มีผลงานดีเด่นในสาขาวิชาภาษาไทย ด้านวรรณกรรม ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ จากมูลนิธิจำนงค์  ทองประเสริฐ  เมื่อ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๓
- ได้รับรางวัล พุทธคุณูปการ ประเภทกาญจนเกียรติคุณ (ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ด้วยความตั้งใจ ทุ่มเท เสียสละ และอุทิศชีวิต เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและปกป้องพระพุทธศาสนา อันสมควรได้รับการยกย่อง เชิดชู ประกาศเกียรติคุณ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจและเกียรติประวัติสืบไป) จากคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๓
- ได้รับพระราชทานโล่เกียรติยศ ครอบครัวไทยมีสุข สภาสตรีแห่งชาติฯ ครั้งที่ ๒ ประจำปี ๒๕๕๔  ณ วังศุโขทัย  จัดโดย สภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ เมื่อ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔


กิจกรรมทางสังคม
                     - เป็นมรรคนายก (คนวัด) ประจำวัดมหาธาตุ ราชบุรี
- เป็นผู้นำผู้รักษาอุโบสถศีลของวัดมหาธาตุ ราชบุรี
- เป็นวิทยากรโครงการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท ของสำนักงานคณะกรรมการ ข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน กพ.)
- เป็นประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดมหาธาตุ
วรวิหาร) ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี  ตั้งแต่ เดือนมิถุนายน พ..๒๕๔๘ ถึง เดือนมิถุนายน พ..๒๕๕๒ (๑ สมัย) และเป็นรองประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนเทศบาล ๔ (วัดมหาธาตุ วรวิหาร) ตั้งแต่ เดือนมิถุนายน พ..๒๕๕๒


ครอบครัว
สมรสกับนาง สุดใจ แสงสินชัย (สกุลเดิม อินทศิริ) เกิดเมื่อ ๑๙ เมษายน ๒๔๙๒ อาชีพรับราชการครู  มีบุตรธิดา ๓ คน คือ
. นางสาว พรกวินทร์ แสงสินชัย เกิดเมื่อ ๑๗ เมษายน ๒๕๒๐ จบการศึกษาปริญญาตรี อักษรศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปริญญาโท วารสาร ศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ทำงานเป็นบรรณาธิการบริหาร  บริษัทนานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด 
. นาย ศิลปกร แสงสินชัย เกิดเมื่อ  ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๓  จบการศึกษาปริญญาตรี อักษรศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ทำงานเป็น Proofreader / Translator  บริษัทเนชั่นมัลติมีเดียกรุ๊ป จำกัด (มหาชน
. เรือเอก อนุสรนาวี แสงสินชัย เกิดเมื่อ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๒๔ จบการศึกษา โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น ๔๒, โรงเรียนนายเรือ รุ่น ๙๙ (พรรคนาวิน) ปัจจุบัน (๒๕๕๔) สังกัด กองเรือยกพลขึ้นบก กองเรือยุทธการ
               
ที่อยู่  
บ้านเลขที่   ๓/๒   ซอยเขางู ๑ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง    จังหวัดราชบุรี  รหัสไปรษณีย์  ๗๐๐๐๐   
โทรศัพท์  ๐ ๓๒๓๒ ๑๘๖๑, ๐๘๖ ๐๕๕ ๑๓๔๑

E-mail : tsangsinchai@hotmail.com


รับรองว่าถูกต้อง / อนุญาตให้เผยแพร่ได้

นาวาเอก
                (ทองย้อย แสงสินชัย)

Update  ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๔

No comments:

Post a Comment

Google

ขบวนเรือพระราชพิธี Royal Barge 12June2006 part 1

ขบวนเรือพระราชพิธี Royal Barge 12June2006 part 2

ขบวนเรือพระราชพิธี Royal Barge 12June2006 part 3 ตอนจบ

คลิปเห่เรือในตอนกลางคืนงานเอเปค